![]() ![]() |
![]() วัดไผ่ล้อม ตราด
ช่วยกันกดแชร์สถานที่นี้ให้เพื่อนๆของคุณได้รู้จักด้วยนะค่ะ
238 ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราด
วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราดพิกัด: 12°14'18.3"N 102°31'04.8"E Garmin: 12°14.386'N 102°31.923'E Google Map: 12.238421, 102.517993 ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เปิดประตูเรียนรู้คุณค่าถิ่นธรรมะเมืองตราด , วัดไผ่ล้อม วัด ไผ่ล้อม อำเภอเมือง เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุมากกว่า 150 ปี และมีบทบาทสำคัญที่สุดต่อการศึกษาของจังหวัดตราด และมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี เคยเป็นที่จำพรรษาของท่านเจ้าคุณวิมิลเมธาจารย์วรญาณคณานุรักษ์สังฆปราโมกข์ ซึ่งชาวตราดถือว่าเป็นบิดาแห่งการศึกษาของจังหวัด แม้ในปัจจุบันวัดนี้ก็ยังเป็นที่พึ่งพาของชาวบ้าน มีการพัฒนาอย่างสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมอยู่ตลอดมา สิ่ง สำคัญภายในบริเวณวัด ได้แก่ สวนพุทธธรรมสำหรับให้ประชาชนได้ใช้เป็นที่ปฏิบัติธรรม พระอุโบสถที่ยังอยู่ในสภาพดีและเจดีย์พิพิธภัณฑ์สามท่านเจ้าคุณซึ่งเป็นที่ เคารพบูชาของชาวตราดและจังหวัดใกล้เคียง นอกจากนี้พระภิกษะสามเณรทุกรูปต่างก็ปฏิบัติตนตามหลักพระพุทธศาสนาอย่าง เคร่งครัดและมีแนวทางการสอนเน้นเรื่องความกตัญญูอันเป็นรากฐานที่มั่นคงใน การดำรงชีวิตของทุกคน ประวัติวัดไผ่ล้อม ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราด วัด ไผ่ล้อม จังหวัดตราด สร้างเมื่อพุทธศักราช 2326 (หนังสือรับรองสภาพวัด) ตั้งอยู่เลขที่ 238 ตำบลบางพระ อำเภอเมือง จังหวัดตราด มีพื้นที่ตั้งวัด 14 ไร่ 1 งาน 65 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์ ด้านหลังศาลาการเปรียญ 5 ไร่ 2 งาน 2 ตารางวา ที่ธรณีสงฆ์สร้างสวนพุทธธรรมฯ กับเจดีย์ฯ 25 ไร่ 55 9/10 ตารางวา ปัจจุบันมีพื้นที่ทั้งหมด 44 ไร่ 3 งาน 54 ตารางวา วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2445 พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสโร) ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส ขณะนั้นเสนาสนะทรุดโทรมมาก เพราะสร้างด้วยไม้ พ.ศ. 2452 พระยาสุนทราทรธุรกิจ เจ้าเมืองตราดได้อนุญาต ถวายวัดบุรินทร์ (ที่ตั้งวิทยาลัยสารพัดช่างตราดปัจจุบัน) ซึ่งเป็นวัดร้าง ครั้งเมืองตราดตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศส (ปี พ.ศ. 2447) แต่วัดไผ่ล้อมซึ่งติดกับวัดบุรินทร์ไม่ร้าง เพราะพระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสโร) ได้ตกลงกับฝรั่งเศส ตามหลักธรรม และได้ทำการรื้อถอนกุฏิ ศาลาของวัดบุรินทร์ มาไว้ที่วัดไผ่ล้อม พ.ศ. 2458 ได้สร้างกุฏิทรงปั้นหยา (กุฏิพระวิมลเมธาจารย์) เป็นเรือนไม้ถูกไฟไหม้ ปี พ.ศ. 2518 สร้างใหม่ทรงเดิม สถานที่เดิม แต่เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก พ.ศ. 2468 ได้รื้อโบสถ์หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมออก แล้วสร้างโบสถ์หลังใหม่ตรงที่เดิม ก่อด้วยอิฐฉาบด้วยทรายผสมเปลือกหอยเผาแทนปูนซิเมนต์ ขนาดยาว 12 วา 1 คืบ 7 นิ้ว (อุโบสถหลังปัจจะบัน) เป็นเงิน 18,000 บาท ส่วนพระประธานหน้าตักกว้าง 4 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว ความสูงของเศียร 7 ศอก ไม่ทราบว่าประดิษฐานมาแต่ พ.ศ. ใด เพราะเป็นพระประธานองค์เดิมที่ปรับปรุงเรื่อยมา พ.ศ. 2479 ก่อสร้างกำแพงแก้วรอบอุโบสถ จัดฉลองเมื่อ เดือน 6 ขึ้น 10 ค่ำ ตรงกับวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2488 (เหตุที่ล่าช้าเพราะเกิดสงครามอินโดจีน) พ.ศ. 2499 พระบุรเขตต์คณาจารย์ (พิม สนฺทโร เจ้าอาวาสองค์ต่อมาได้รื้อศาลาการเปรียญหลังเก่า มาสร้างศาลาการเปรียญพื้นไม้ตะเคียนหลังปัจจุบัน หอสวดมนต์พระวิมลเมธาจารย์เล่าว่าตั้งแต่บวชตั้งแต่ปี 2427 ก็มีอยู่แล้ว ไม่ทราบว่าสร้างมาเมื่อใด รวมอายุของวัดไผ่ล้อม (ถึง พ.ศ. 2549) 223 ปี องค์พระประธานวัดไผ่ล้อม หอสมุด พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสโร) ผู้มีบทบาทสำคัญต่อการศึกษาในจังหวัดตราด หุ่นเหมือน พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสโร), พระบุรเขตต์คณาจารย์ (พิ้น สนฺทโร) และ พระครูสุนทรธรรมทัศน์ (พระมหาธรรมทัศน์ ติสาโร) ลำดับเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม
พระสยามเทวาธิราช สวนพุทธธรรม พระบุรเขตต์คณาจารย์ ศาลาหัทโยบล จุดนั่งพักและให้อาหาร ปลากับเต่า จุดแวะพักใน สวนพุทธธรรม พระบุรเขตต์คณาจารย์ เจดีย์สามท่านเจ้าคุณ วัดไผ่ล้อมถือเป็นวัดที่มีความสำคัญต่อการศึกษาของจังหวัดตราดเป็นอย่างมาก เคยเป็นที่พำนักของผู้ที่ชาวตราดยกย่องว่าเป็น “บิดาแห่งการศึกษาจังหวัดตราด” คือ พระวิมลเมธาจารย์วรญาณคณานุรักษ์ สังฆปาโมกข์ (เจ้ง จนฺทสโร) เมื่อครั้งที่ได้มีคำสั่งให้มีการจัดตั้งโรงเรียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกใน จังหวัดตราดโดยใช้ชื่อว่า สำนักสอนหนังสือไทยวัดไผ่ล้อมนั้น ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นครูผู้สอน ซึ่งถือว่าท่านเป็นครูคนแรกของจังหวัดตราด นอกจากนี้ท่านยังได้จัดตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกที่วัดไผ่ ล้อม และจัดตั้งโรงเรียนสอนบาลีแก่พระสงฆ์อีกด้วย
ภายหลังจากที่ท่านมรณภาพ พระบุรเขตต์คณาจารย์สุทธิสารวรนายก สังฆปาโมกข์ (พิ้น สุนฺทโร) ก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม ซึ่งเมื่อครั้งที่ท่านดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส ท่านได้ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ขึ้นในวัดไผ่ล้อม จัดตั้งกองทุนบุรเขตต์คณาจารย์ขึ้น เพื่อให้ทุนแก่นักเรียนที่เรียนดีแต่ขาดทุนทรัพย์ และท่านยังสนับสนุนการศึกษาของพระสงฆ์ โดยการจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรมขึ้น นอกจากพระวิมลเมธาจารย์วรญาณคณานุรักษ์ สังฆปาโมกข์ (เจ้ง จนฺทสโร) และพระบุรเขตต์คณาจารย์สุทธิสารวรนายก สังฆปาโมกข์ (พิ้น สุนฺทโร) แล้วก็ยังมีอีกพระคุณเจ้าอีกรูปหนึ่งที่มีคุณูปการต่อชาวตราด นั่นคือพระราชเขมากรสุนทรธรรมนิวิฏฐ์ (ปกรณ์ อารทฺธวิริโย) ผู้ที่ได้รับการยกย่องจากพระพิศาลธรรมพาที (พระพะยอม กลฺยาโน) ว่าเป็น “เพชรน้ำงามของจังหวัดตราด” ซึ่งท่านได้จัดตั้งกองทุนสนับสนุนทางด้านการศึกษา และเทศนาสั่งสอนประชาชนตามท้องถิ่นต่างๆ
เมื่อท่านทั้งสามซึ่งเป็นศูนย์รวมความศรัทธาของชาวตราดได้ถึงแก่มรณภาพ ศิษยานุศิษย์ทั้งหลาย จึงได้รร่วมประชุมกัน เพื่อจัดสร้างอนุสรณ์สถานเพื่อระลึกถึงคุณูปการที่ท่านทั้งสามได้ทำไว้ และได้ลงมติให้มีการสร้าง “เจดีย์สามท่านเจ้าคุณ” ขึ้น บนพื้นที่บนเกาะกลางน้ำในสวนพุทธธรรมพระบุรเขตต์คณาจารย์ ภายในวัดไผ่ล้อม โดยออกแบบเจดีย์ให้เหมาะสมกับพื้นที่และคงทนต่อสภาพอากาศ “ฝนแปดแดดสี่”ของจัดหวัดตราด องค์เจดีย์เป็นรูปทรงระฆังคว่ำ 8 เหลี่ยมเป็นอาคาร 2 ชั้นจัดแสดงเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่วนปลียอดของเจดีย์เป็นทรงดอกบัวตูมปิดทับด้วยโมเสคเคลือบทองคำจากประเทศ อิตาลี ภายในปลียอดจะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระธาตุและพระเครื่องโบราณของวัดไผ่ล้อม
ข้อมูลจาก: หนังสือ เจดีย์สามท่านเจ้าคุณ วัดไผ่ล้อม จังหวัดตราด,2551 เจดีย์สามท่านเจ้าคุณ
ด้านบนเป็นที่บรรจุ พระธาตุ ซึ่งเราสามารถทำการสักการะบูชาได้ คำกล่าวบูชาพระธาตุ ตั้งนะโม 3 จบ อะหัง วันทามิ อิธะ ปะติฏฐิตา พุทธะธาตุโย ตัสสานุภาเวนะ สะทา โสตถี ภะวันตุ เม ข้าพเจ้าขอนมัสการ กราบไหว้ พระบรมสารีริกธาตุ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ประดิษฐานอยู่ ณ ยอดเจดย์สามท่านเจ้าคุณแห่งนี้ ด้วยอานุภาพแห่งกุศลผลบุญนี้ ขอให้ข้ายเจ้า ประสพแต่ความสุข สวัสดี ตลอดกาลทุกเมื่อเทอญ ชั่น 1 เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมและกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา
พระวิมลเมธาจารย์ (เจ้ง จนฺทสโร) คติพจน์ : รักพ่อแม่อย่าลืมคุณ รักบุญอย่าลืมศีล หลวงพ่อเจ้ง จันทสโร (20 กรกฎาคม พ.ศ. 2406 - 27 เมษายน พ.ศ. 2499) อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม และ อดีตเจ้าคณะจังหวัดตราด ได้รับการขนานนามว่า บิดาแห่งการศึกษาของจังหวัดตราด ในฐานะที่เป็นพระผู้เคร่งครัด ในพระธรรมวินัย เป็นนักปกครอง เป็นแบบอย่างที่ดีและที่สำคัญท่านให้การสนับสนุนทางการศึกษาในจังหวัดตราด เป็นอย่างมาก แม้แต่ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ สมเด็จพระสังฆราช ยังเคยย้ำพระราชดำรัสถึง 2 ครั้งว่า พระเจ้งเป็นพระที่ดีมาก ประวัติ พระวิมลเมธาจารย์ หรือ หลวงพ่อเจ้ง จันทสโร ท่านเกิดเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2406 ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งราชวงศ์จักรี ณ บ้านแหลมหิน ตำบลหนองคันทรง อำเภอเมือง จังหวัดตราด วัยเด็กได้รับการศึกษาเพียงการหัดอ่านภาษาไทยจากพระอาจารย์สร้อย วัดแหลมหิน ซึ่งในสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนไม่มีแบบเรียนจึงมีน้อยคนนักที่จะรู้หนังสือไทย ท่านอุปสมบทเมื่อมีอายุได้ 21 ปี ในวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2427 ในรัชกาลถัดมา ณ วัดไผ่ล้อม โดยมีพระอุปัชฌาย์รุ่ง วัดไผ่ล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดนิตย์ วัดกลาง เป็นพระกรรมวาจาจารย์ และพระใบฎีกาหล่อน วัดไผ่ล้อม เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลังจากนั้นได้เริ่มศึกษาหนังสือไทย พระธรรมคำภีร์ บาลีและพระวินัยบัญญัติ ท่านอุตสาหะและพากเพียรในการเขียนอ่านจนมีความรู้ทั้งภาษาไทยและขอมจนแตกฉาน ได้รับอนุญาตให้แสดงธรรมเทศนา พระธรรมเจ็ดคัมภีร์ ที่แสดงได้ยากยิ่ง เมื่อบวชได้เพียง 4 พรรษาเท่านั้น ต่อมาท่านได้รวบรวมหนังสือสวดมนต์มาทำการแปลและจัดพิมพ์ขึ้น เช่น คิริมานนทสูตร เป็นต้น ในปี พ.ศ. 2445 ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม เป็นพระอุปัชฌาย์ เป็นพระครูวิมลเมธาจารย์ ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดตราด ตามลำดับ ครั้งสุดท้ายได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระวิมลเมธาจารย์วรญาณคณานุรักษ์ สังฆปาโมกข์ ท่านได้ตั้งโรงเรียนสอนนักธรรมขึ้นเป็นครั้งแรกในจังหวัดตราด ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2499 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลปัจจุบัน ขอขอบคุณข้อมูลจาก: จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี พระบุรเขตต์คณาจารย์สุทธิสารวรนายก สังฆโมกข์ (พิ้น สุนฺทโร) คติพจน์: รักดีต้องละชั่ว รักตัวต้องฝึกตน ที่อยู่ปัจจุบัน มรณภาพ (อดีตเจ้าอาวาสวัดไผ่ล้อม หมู่ 1 ถนนหลักเมือง ตำบลบางพระอำเภอเมือง จังหวัดตราด) ขอขอบคุณข้อมูลจาก: www.m-culture.in.th พระราชเขมากร (ปกรณ์ อารทฺธวิริโย) คติพจน์ รักรวยต้องประหยัด รักฉลาดต้องหมั่นเรียน พระพุทธรูปหยก ลงข้อมูล 5/10/2015 เจดีย์
ศิลปะ
เก่าแก่
ถวายสังฆทาน
สถานที่สำคัญ
บุคคลสำคัญ
พระพุทธรูป
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ช่วยกันกดแชร์สถานที่นี้ให้เพื่อนๆของคุณได้รู้จักด้วยนะค่ะ
|