![]() ![]() |
![]() วัดอ่าวใหญ่ ตราด
ช่วยกันกดแชร์สถานที่นี้ให้เพื่อนๆของคุณได้รู้จักด้วยนะค่ะ
หมู่ 1 ต. อ่าวใหญ่ อ. เมืองตราด จ. ตราด
วัดอ่าวใหญ่หมู่ 1 ต. อ่าวใหญ่ อ. เมืองตราด จ. ตราด พิกัด: 12°05'49.7"N 102°33'17.6"E Google Map: 12.09713, 102.5549
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: ข้อมูลจากทางวัด อ่าวใหญ่ จังหวัดตราด "การ เก็บข้อมูลของ Thaimaptravel.com จุดประสงค์คือเก็บรวบรวมข้อมูลประวัติ ความน่าสนใจ และจุดเด่นของสถานที่ต่างๆ ในประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งาน รวมถึงสามารถค้นหาสถานที่ต่างๆ ที่ต้องการได้ เพื่อนำไปเป็นแนวทางสำหรับการวางแผนการเดินทางและเตรียมเป็นข้อมูลก่อนการ เดินทางไปยังสถานที่นั้นๆ เพื่อเพิ่มความสนุกและความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามการอ่านหรือดูจากภาพเพียงอย่างเดียว สู้การออกไปค้นหาด้วยตัวเองไม่ได้ เพราะข้อมูลที่เราได้หยิบยกมาให้ได้ชมเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความน่าสนใจของ สถานที่เท่านั้นและการที่เราได้ออกไปยังสถานที่จริงๆ เราจะได้รับรู้ถึงบรรยากาศและประสบการณ์ที่ประทับใจกลับมาอีกด้วย เมืองไทยมีดีที่คุณยังไม่รู้..." สถานที่แห่งนี้ควรใช้เวลาในการเยี่ยมชมประมาณ 30-60 นาที หรือมากกว่า ลงข้อมูล 1/11/2015 ข้อมูลต่างๆ อาจมีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา
ประวัติวัดอ่าวใหญ่ วัดอ่าวใหญ่ ตั้งอยู่เลขที่ 1 บ้านอ่าวใหญ่ ถนนตราด-แหลมศอก หมู่ที่ 1 ตำบลอ่าวใหญ่ อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 25 ไร่ 3 งาน 50 ตารางวา น.ส. 3 เลขที่ 6 อาณาเขตทิศเหนือ จรดที่ดินเอกชน ทิศใต้และทิศตะวันออก จรดทางสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันตก จรดถนนสายตราด-แหลมศอก มีที่ธรณีสงฆ์จำนวน 2 แปลง เนื้อที่ 42 ไร่ 1 งาน 13 ตารางวา น.ส.3 เลขที่ 40,125 อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ กว้าง 8 เมตร ยาว 24.40 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2527 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ศาลาการเปรียญ กว้าง 14 เมตร ยาว 32 เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. 2514 เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก กุฏิสงฆ์ จำนวน 6 หลัง เป็นอาคารไม้ 4 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 1 หลัง และตึก 1 หลัง วิหารกว้าง 8 เมตร ยาว 12 เมตร เป็นอาคารไม้ ศาลาบำเพ็ญกุศลจำนวน 1 หลัง สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก ปูชนียวัตถุ มีพระประธานประจำอุโบสถ 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 79 นิ้ว พระประธานประจำวิหาร 1 องค์ ขนาดหน้าตักกว้าง 49 นิ้ว ภาพพระอุโบสถแห่งวัดอ่าวใหญ่ จังหวัดตราด วัดอ่าวใหญ่ ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2374 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. 2462 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ 1 พระจีน รูปที่ 2 พระอ้อย รูปที่ 3 พระอ่วม รูปที่ 4 พระครูพุทธิคุณคชทีป พ.ศ. 2467-2502 รูปที่ 5 พระครูพิพัฒน์อโนมคุณ พ.ศ. 2507- ปัจจุบัน การศึกษา มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2467 บริเวณทางขึ้นพระอุโบสถ ข้อมูลสำนักสงฆ์อ่าวใหญ่ ราวปี พ.ศ. เท่าไรไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด
รูปแบบศิลปะที่สวยงามของอุโบสถ วัดอ่าวใหญ่ จังหวัดตราด
ราวปี พ.ศ. เท่าไรไม่มีหลักฐานระบุแน่ชัด
บริเวณทางขึ้นด้านหนึ่งเป็นงานปั้นแบบ ยักษ์เฝ้าวัด แบบของไทย บริเวณด้านทางขึ้นอีกข้างหนึ่งเป็นยักษ์เฝ้าประตู หรือ ทวารบาล (ผู้เฝ้าประตู) เป็นรูปแบบงานจีน
ราวปี พ.ศ. 2413 ได้ย้ายมาตั้งที่บริเวณที่ตั้งปัจจุบัน มีสิ่งก่อสร้าง
ภาพอุโบสถเต็มหลัง ด้านหน้า ราวปี พ.ศ. 2461-2462 ได้เกิดวาตภัย พายุรุนแรง เป็นเหตุให้ต้นไม้ใหญ่หักโค่นทับหลังคาครัวเสียหายเพราะบริเวณที่ตั้งวัดมีต้นไม้ใหญ่มากมาย เช่น พิกุล มะม่วง ตะพุน ขนุน และ สีสะมัน เป็นต้นฯ ราวปะ พ.ศ. 2413-2458 สมัยรัชกาลที่ 6 ปีมะแม-ปีเถาะ หลังจากสิ่งก่อสร้างชำรุดทรุดโทรมลง ชาวบ้านได้ ร่วมมือกันปลูกสร้างใหม่ อาทิ กุฏิเจ้าอาวาสหลังปัจจุบันเมื่อ วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เดือน 6 แรม 13 ค่ำ ปีมะเมีย และได้ทำการก่อสร้างเพิ่มเติมเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน มีดังเช่น
ศิลปะประตูหน้าต่าง ที่สวยงามแบบไทย ยอดประตูหน้าต่างของพระอุโบสถ หลังคาอุโบสถจนถึงยอดฟ้า พระที่ประจำอยู่ที่วัดอ่าวใหญ่ ในฐานะผู้ปกครองวัด
พระประธานอุโบสถวัดอ่าวใหญ่ ตราด ภายในพระอุโบสถแห่งวัดอ่าวใหญ่ เป็นที่ประดิษฐาน "พระพุทธชินราช" บริเวณพื้นปูกระเบื้อง (น่าจะเป็นหินอ่อน) จนถึงฝาผนัง ส่วนของแท่นที่ใช้ในการประกอบพิธีที่ยกสูงขึ้นปูด้วยพรมสีแดง พร้อมกับประตูหน้าต่างไม้สีแดง บางจุดเป็นวอลเปเปอร์ลายกนกไทยสีเหลืองขาว แต่ส่วนมากเป็นภาพศิลปะที่สวยงามเป็นอย่างมากแบบไทย โดยอุโบสถแห่งนี้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญๆ ของวัดอ่าวใหญ่รวมถึงการปลุกเสกพระและวัตถุมงคลต่างๆ ภายในอุโบสถวัดอ่าวใหญ่ ตราด พระพุทธชินราช องค์พระประธาน งานศิลปะที่ประณีตและสวยงามเป็นอย่างยิ่ง ความเป็นมา และ วิถีชีวิตของคนบ้านอ่าวใหญ่ ตำบลอ่าวใหญ่ อยู่ปลายแหลมสุด มีลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมคล้ายรูปหักข้อศอก มีพื้นที่เป็นป่าเล็ก ป่าทึบ มีพันธ์ไม้หลากหลายชนิดหนาแน่น อุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์นานาชนิดชุกชม ทั้งสัตว์เล็ก-ใหญ่ อาชีพหลักของคนบ้านอ่าวใหญ่ ส่วนใหญ่ ทำอาชีพประมง ทำไร่เลื่อนลอย และ ทำนาน้ำเค็ม บ้านอ่าวใหญ่เดิมมีประชากรอยู่ไม่มากนัก การทำมาหากินค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ การคมนาคมยังไม่สะดวกเหมือนปัจจุบัน จึงใช้การเดินเท้าและเรือ เป็นส่วนใหญ่ ไฟฟ้า ไฟส่องสว่างยังไม่มีอาศัยการจดใต้เพื่อให้แสงสว่าง เมื่อวัดมีงานบุญ งานประเพณี การเดินทางมาวัดบางรายต้องเดินมาล่วงหน้าเพื่อมาค้างคืน หรือ ออกเดินมาตั้งแต่ตี 3 ตี 4 ส่วนการเดินทางเพื่อไปตัวจังหวัด ต้องใช้เรือ หรือ เดินเท้าไป ต้องใช้เวลาเป็น วัน-คืน ส่วน ชีวิตความเป็นอยู่ ก็เป็นไปตามวิถีชาวบ้านแบบทั่วไป คือ ก่อฟืนเพื่อหุงข้าว ใช้ช้อนเปลือกหอย และ ทางสับปะรด ภาชนะที่ใช้ตักน้ำก็เป็น กะโหลก-กะลา หาบน้ำด้วยถัง สีข้าว ตำข้าว ด้วยมือปล่าว ชาวบ้านมีความสามัคคี มีงานมีการก็ช่วยเหลือกัน เอาแรงกัน ตำบลอ่าวใหญ่ แต่เดิมชาวบ้านเรียก ตำบลอ่าวญวน เพราะมีพวกญวนมาตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณบ้านอ่าวญวน ต่อมาจึงเปลี่ยนมาเรียกว่าตำบลอ่าวใหญ่ เพราะบริเวณที่ตั้งวัดอ่าวติดทะเลและใหญ่ ศิลปะ
เก่าแก่
ถวายสังฆทาน
สถานที่สำคัญ
พระพุทธรูป
สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์
อุโบสถ
วัตถุมงคล
ช่วยกันกดแชร์สถานที่นี้ให้เพื่อนๆของคุณได้รู้จักด้วยนะค่ะ
|